วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การใช้ประโยคในการสื่อสาร




         เราใช้ประโยคเพื่อสื่อสาร ให้ข้อมูล หรือเพื่อแสดงความคิดเห็น แสดงความปรารถนา ให้ผู้อื่นได้รับรู้ และบางทีก็ใช้ประโยคในการตั้งคำถาม ใช้ขอร้อง หรือใช้เพื่อแสดงอารมณ์ ความรู้สึก เช่น ตกใจ ประหลาดใจ โดยสามารถแบ่งประโยคตามลักษณะของการใช้ได้เป็นประเภทย่อยๆ คือ ประโยคที่มีใจความตอบรับ (affirmation), ประโยคที่มีใจความปฏิเสธ (negation), ประโยคคำถาม (interrogation), ประโยคอุทาน (exclamations) และประโยคคำสั่ง ขอร้อง คำแนะนำ (commands, requests, suggestions)
Affirmation
ถึงแม้ว่าประโยค active และ passive นั้นจะมีใจความหลักเหมือนๆ กัน และประโยคที่อยู่ในรูป active ทุกประโยค จะสามารถทำให้อยู่ในรูป passive ได้ ก็ใช่ว่าเราอยากจะใช้รูปไหนก็ใช้ โดยมากแล้วเราจะใช้ประโยครูป active ส่วนประโยคในรูป passive นั้น เราจะใช้ ในกรณีต่อไปนี้
  • ประโยคบอกเล่าที่มีใจความตอบรับ (affirmative) ซึ่งประกอบด้วย auxiliaries, verb “be” หรือ verb “have”
-   He was  angry.
-   Well, I say, you are  a swimmer.
-   But I have  told you everything already.
-   It must  go, there is no help for it.

  • ประโยคบอกเล่าที่มีใจความตอบรับ ซึ่งประกอบด้วย verbs ที่ใช้คู่กับ do, does, did
-   I do  wish you wouldn’t drive so fast.
-   A cup of tea?—Yes, I do  want it.
-   When he does  come, he is generally late.
-   But she did  send the money when she said she would.
ที่มา : http://www.dicthai.com/dt_grammar_unit5_affirmation.html

The Subjective Complement



ก่อนหน้านี้ประโยคที่ยกมาเป็นตัวอย่างส่วนมากจะเป็นประโยคที่มีคำกริยา (verb) ทำหน้าที่สำคัญในภาคแสดงของประโยค เช่น He wrote a letter. แต่ยังมีประโยคอีกแบบหนึ่ง ที่คำกริยาทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมเท่านั้น (linking verb) ไม่ได้เป็นใจความหลักในภาคแสดงของประโยค เพราะใจความสำคัญคือ noun หรือ adjective
เช่น
He is a writer. ใจความสำคัญของประโยคนี้คือ writer (noun) ไม่ใช่ is (linking verb)
He is quite famous. ใจความสำคัญของประโยคนี้คือ famous (adjective) ไม่ใช่ is (linking verb)
ซึ่ง writer และ famous ในประโยคข้างต้นถือเป็น predicate noun และ predicate adjective หรืออาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นส่วนขยายประธาน (subjective complement) Subjective complements อาจเป็นได้ทั้ง noun, noun-equivalents, adjectives และ adjective equivalents
เช่น
It is a cat. (noun)
It is mine, not yours. (noun-equivalent [pronoun])
He seems to enjoy it. (noun-equivalent [infinitive])
That’s cheating. (noun-equivalent [gerund])
That is not what I want. (noun-equivalent [noun clause])
It is very good. (adjective)
He isn’t in. (adjective-equivalent [preposition-like adverb])
It’s here. (adjective-equivalent [adverb])
That letter is from my brother. (adjective-equivalent [prepositional phrase])
ส่วนกริยาเชื่อม (linking verb) ที่ใช้กันบ่อยๆ ได้แก่ be, seem (to be), appear (to be), look, prove (to be), become, get, grow, keep, remain
นอกจาก linking verbs ที่กล่าวข้างต้นแล้ว มีกริยาอีกจำนวนหนึ่ง ที่บางครั้งสามารถทำหน้าที่เสมือน linking verb ได้
เช่น
The natives go naked all the year round.
ใจความสำคัญของภาคแสดงในประโยคนี้ คือ naked โดยมีกริยา go ทำหน้าที่เสมือนเป็น linking verb
She turned pale at the name.
ใจความสำคัญของภาคแสดงในประโยคนี้ คือ pale โดยมีกริยา turned ทำหน้าที่เสมือนเป็น linking verb
การสลับตำแหน่งการวางในประโยค
โดยทั่วไปแล้วส่วนขยายประธานจะอยู่หลังกริยา (subject + verb + subjective complement) แต่บางครั้งก็สามารถวางไว้ที่ด้านหน้าของประโยคได้ มักพบในประโยค exclamatory sentence หรือในประโยคที่มี adverb here และ there อยู่ในส่วนขยายประธาน
เช่น
Here is your coat.
There you are!
หรือ
Naked I came into the world, naked I shall go out of it.
การละ subjective complement และการใช้คำอื่นแทน
เราสามารถละ subjective complement ได้ในบางกรณี เมื่อมันอยู่หลัง verb be เช่น He was angry, but I was not (angry). หรือถ้ามันอยู่หลังกริยาคำอื่น เราก็สามารถละ subjective complement โดยใช้ so แทน เช่น He fell silent and remained so to the end.

ที่มา : http://www.dicthai.com/dt_grammar_unit3_subject.html
Learning  Sentences  In  English
        เมื่อกล่าวถึงเรื่อง  Sentence  ในภาษาอังกฤษแล้ว ก็อาจจะเป็นที่เข้าใจได้ทันที(สำหรับผู้ที่เคยผ่านหูผ่านตามา) ว่า คำว่า “Sentence” นี้ ก็คือประโยคในภาษาไทยนั่นเอง  ประโยคในภาษาไทยและภาษาอังกฤษนั้น มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก ทั้งรูปแบบโครงสร้างประโยค   การเรียงประโยค  จึงอาจทำให้ผู้ที่เข้าใจภาษาไทย  สามารถเรียนรู้และเข้าใจภาษาอังกฤษได้อย่างรวดเร็ว
            ก่อนที่จะได้ทำการจำแนกแบ่งซอย Sentence(ประโยค) ขอนำคำนิยามความหมายที่ปรากฏอยู่ในพจนานุกรมหลายเล่มมาประมวลเอาไว้พอสังเขปดังนี้
            Sentence  is  group  of  words  that  you  put  together  to tell  an  idea  or  ask  a  question.”
 (Oxford  Basic  English  Dictionary,1981:247)
            Sentence is  a  word  or  a  group  of  syntactically  related  words  that  states, asks, commands, or  exclaims  something  conventional  unit  of  connected  speech  or  writing, usually  containing  a  subject  and  a  predicate: in  writing, a  sentence   begins  with  a  capital  letter  and   concludes  with   an   end   of   mark (period, question mark, etc.), and  concludes  with  any  various  final  pitches  and  a   terminal  juncture.” (Webster’s  New  World  Dictionary,1988:1223) 
            “ Sentence  is  a  group  of  words, which  they  are  written  down, begin  with  a  capital  letter  and  end  with  a  full  stop, question  mark, or  exclamation  mark. Most  of  sentence  contain  a  subject  and  a  verb.” ( Collins  Cobuild  English  Dictionary,1995:287)
            จากคำนิยามความหมายของ   Sentence (ประโยค)   ข้างต้นนี้    ทำให้สามารถสรุปได้ว่า
Sentence(ประโยค) หมายถึง  กลุ่มคำที่ประกอบด้วยภาคประธาน  และภาคขยายประธาน ที่เรียงประกอบเข้าด้วยกันอย่างเป็นระเบียบ โดยแสดงข้อความที่มีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง
Sentence (ประโยค)  โดยทั่วไปแล้วจะประกอบด้วย ภาคประธาน (Subject) และภาคขยายประธาน หรือภาคแสดง (predicateตัวอย่างเช่น
I  am  a  monk. 
ผมเป็นพระ
            ภาคประธาน (Subject) คือ    I
            ภาคขยายประธาน หรือภาคแสดง (predicate)  คือ   am  a  monk
Mahachulalongkornrajavidyalaya  university  is  the  Buddhist  university.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยทางพระพุทธศาสนา
ภาคประธาน (Subject) คือ    Mahachulalongkornrajavidyalaya   university 
            ภาคขยายประธาน หรือภาคแสดง (predicate) คือ   is  the Buddhist  university
            Sentence (ประโยค)  ในภาษาอังกฤษ  ท่านได้แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1.      Simple  Sentence ( ประโยคความเดียว หรือเอกัตถประโยค)
2.      Compound  Sentence ( ประโยคความรวม หรืออเนกัตถประโยค)
3.      Complex   Sentence ( ประโยคความซ้อน หรือสังกรประโยค)
4.      Compound – Complex  Sentence ( ประโยคความผสม หรือ อเนกัตถสังกรประโยค)
ต่อไปก็จะได้กล่าวถึงความหมายและรายละเอียด  กฎเกณฑ์ของ  Sentence (ประโยค)  แต่ละข้อ
ที่ได้กล่าวมาแล้ว  ตามลำดับดังต่อไปนี้
1.  Simple  Sentence  แปลว่า  ประโยคความเดียว หรือเอกัตถประโยค หมายถึง ข้อความที่พูด
ออกไปแล้ว มีใจความเดียว  ไม่กำกวม  สามารถเข้าใจเป็นอย่างเดียวกันระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง  เป็นประโยคที่มีประธานตัวเดียว  และกิริ ยาตัวเดียว
 ตัวอย่างเช่น
-Venerable  Tawan  is  my  friend.
 ท่านตะวันเป็นเพื่อนของผม
- Buddhism  is  one  of  the  great  world  religions.
 พระพุทธศาสนาเป็นหนึ่งในบรรดาศาสนาโลกที่ยิ่งใหญ่
หมายเหตุ :   พึงสังเกตประโยคแต่ละประโยคข้างต้นเหล่านี้   จะเห็นว่าแต่ละประโยคจะมีประธานตัวเดียว และกิริยาตัวเดียว จึงทำให้สามารถทราบได้ว่าเป็น   Simple  Sentence (ประโยคความเดียว หรือเอกัตถประโยค) ตามความหมาย และกฎเกณฑ์ข้างต้น
 นอกจากนั้นแล้ว   Simple  Sentence  (ประโยคความเดียว หรือเอกัตถประโยค)  ยังสามารถแบ่งเป็น
            ประโยคย่อยๆ ได้อีก 6 รูปแบบ ดังนี้คือ
1.      ประโยคบอกเล่า  ( Affirmative  Sentence)
2.      ประโยคปฏิเสธ ( Negative  Sentence )
3.      ประโยคคำถาม ( Interrogative  Sentence )
4.      ประโยคคำถามเชิงปฏิเสธ (Negative  Question  Sentence)
5.      ประโยคข้อร้องหรือบังคับ ( Imperative Sentence)
6.      ประโยคอุทาน (Exclamation  Sentence)
ก่อนอื่นก็ขอเริ่มต้นอธิบายเป็นลำดับไปดังนี้
1. ประโยคบอกเล่า  ( Affirmative  Sentence)  ได้แก่  ประโยคที่มีเนื้อความบอกเล่าตามธรรมดา 
ไม่อยู่ในรูปคำถาม  ปฏิเสธ  อุทาน  หรือ ขอร้องและบังคับ 
 ตัวอย่างเช่น
            - I  am  studying  at  a  university  in  Nakornratchasima  province.
            ผมกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา
            - Wat  Isaan  is  located  in  Nakornratchasima  city.
วัดอิสานตั้งอยู่ในตัวเมืองนครราชสีมา

2. ประโยคปฏิเสธ ( Negative  Sentence ) ได้แก่  ประโยคที่มีเนื้อความปฏิเสธ
 ตัวอย่างเช่น
- The  Pali  language  is  not  difficult  for  monks.
ภาษาบาลีเป็นภาษาที่ไม่ยากสำหรับพระ
- Thailand  is  not  the  largest  country  in  the  world.
ประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก
3.  ประโยคคำถาม ( Interrogative  Sentence ) ได้แก่  ประโยคที่มีเนื้อความเป็นคำถาม  เพื่อ
ต้องการทราบคำตอบ  
ตัวอย่างเช่น
            - Are  you  a  monk ?
            ท่านเป็นพระหรือ ?
            - What  is  Buddhism?
            พระพุทธศาสนาคืออะไร
4. ประโยคคำถามเชิงปฏิเสธ (Negative  Question  Sentence) ได้แก่ประโยคที่มีเนื้อความเชิงปฏิเสธ    
            ตัวอย่างเช่น
            - Does  not  she  believe  in  you?
            หล่อนไม่เชื่อคุณหรือ?
            -  Why  do  not  you  do  that  again?
            ทำไมคุณถึงไม่ทำมันอีกครั้ง?
         5.  ประโยคข้อร้องหรือบังคับ ( Imperative Sentence)  ได้แก่  ประโยคที่มีเนื้อความขอร้องหรือบังคับให้กระทำ 
ตัวอย่างเช่น
5.1  ประโยคที่มีเนื้อความขอร้อง  เช่น
- I  beg  your  pardon.
ผมขอโทษ
- You  should  follow  my  words.
ท่านควรทำตามคำพูดของผม
5.2   ประโยคที่มีเนื้อความบังคับ  เช่น
- Do  as  my  suggestion.
จงทำตามคำแนะนำของผม
- Open  the  door  now.
            จงเปิดประตูเดี๋ยวนี้
            6.   ประโยคอุทาน (Exclamation  Sentence) ได้แก่  ประโยคที่มีเนื้อความเปล่ง
อุทานขึ้น  มีทั้ง  ตกใจ  ปะหลาดใจ   เศร้าใจ  ดีใจ  เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น
            How  nice  she  is !
            หล่อนช่างดูดีจริงๆ !
            What  the  hottest  month  it  is!
            มันช่างเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดอะไรเช่นนี้ !
           2.  Compound  Sentence  แปลว่า  ประโยคความรวมหรืออเนกัตถประโยค  หมายถึง  ประโยคที่มีข้อความ  2  ข้อความมารวมกัน  พูดง่าย ๆ คือ  ประโยคความเดียว 2 ประโยคมารวมกัน แล้วเชื่อมด้วย  co-ordinate  conjunction (ตัวเชื่อมประสาน)  ได้แก่ and, or, but, so, still, yet, etc.  และ  conjunctive  adverb (คำวิเศษณ์เชื่อม) ได้แก่  however, meanwhile, therefore, otherwise, thus, etc.
 2.1 Compound  Sentence ( ประโยคความรวม หรืออเนกัตถประโยค) ที่เชื่อมด้วย  co-ordinate  conjunction (ตัวเชื่อมประสาน)  ได้แก่  and, or, but, so, still, yet, etc.
ตัวอย่างเช่น
            - Venerable  Tawan  can  speak  English  and  he  can  speak  Loa.
            ท่านตะวันสามารถพูดภาษาอังกฤษและสามารถพูดภาษาลาวได้
            - Phramaha  Charoen  does  not  study  Loa  yet  he  can  speak it.
            พระมหาเจริญไม่ได้ศึกษาภาษาลาวถึงกระนั้นเขาก็สามารถพูดภาษาลาวได้

            2.2 Compound  Sentence (ประโยคความรวม หรืออเนกัตถประโยค)  ที่เชื่อมด้วย conjunctive  adverb (คำวิเศษณ์เชื่อม) ได้แก่  however, meanwhile, therefore, otherwise, thus, hence, nevertheless, etc.
ตัวอย่างเช่น
- Venerable  Prakorng  was  ill, thus  he  went  to  see  a  doctor  at  a  hospital.
ท่านประคองป่วยดังนั้นเขาจึงไปหาหมอที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง
- Jess  comes  to  see  me at  a  temple, meanwhile  I  teach  her  Buddhism.
 เจสมาหาผมที่วัดระหว่างนั้นผมก็สอนพระพุทธศาสนาให้เธอด้วย
หมายเหตุ :  จากตัวอย่าง  จะเห็นได้ว่า Compound  Sentence  เกิดมาจาก  Simple  Sentence  2  ประโยคมารวมกัน   แล้วคั่นกลางประโยคทั้งสองด้วย    co-ordinate  conjunction (ตัวเชื่อมประสาน) และ  conjunctive  adverb  (คำวิเศษณ์เชื่อม) 
3. Complex Sentence  แปลว่าประโยคความซ้อน หรือสังกรประโยค หมายถึง  ประโยคที่มี
เนื้อความซับซ้อน  ถ้าขาดเนื้อความใดเนื้อความหนึ่งแล้ว ทำให้เนื้อความไม่สมบูรณ์  จะใช้ตัวเชื่อมที่เรียกว่า sub - ordinate  conjunction (คำเชื่อมแฝง) ได้แก่  if, before, because, as if, since, etc. และ relative  pronoun(สัมพันธ์สรรพนาม) ได้แก่  who, what, where, that, which, etc.
            3.1  Complex  Sentence (ประโยคความซ้อน หรือสังกรประโยค) ที่เชื่อมด้วย sub - ordinate  conjunction (คำเชื่อมแฝง) ได้แก่  if, before, because, as if, since, etc.
ตัวอย่างเช่น
            - Before I  go  out, I  would  like  to  leave  my  messages.
            ก่อนที่ผมไป ผมอยากจะทิ้งข้อความของผมเอาไว้
            - Venerable  Somporn  talks  as  if  he  was  able  to  speak  English.
            ท่านสมพรพูดราวกับว่าเขาสามารถพูดภาษาอังกฤษได้    
            3.2  Complex   Sentence (ประโยคความซ้อน หรือสังกรประโยค) ที่เชื่อมด้วย  relative  pronoun (สัมพันธ์สรรพนาม) ได้แก่  who, what, where, that, which, etc.  
ตัวอย่างเช่น
The  monk  who  is  standing  over  there  is  my  friend.
พระผู้ซึ่งกำลังยืนอยู่ที่นั่นคือเพื่อนของผม
The  monk  whose  book  was  stolen  is  student.
พระผู้ซึ่งหนังสือของเขาถูกขโมยคือนักเรียนของผม
หมายเหตุ :  จากตัวอย่าง  จะเห็นได้ว่า Complex  Sentence (ประโยคความซ้อน หรือสังกรประโยค) เชื่อมด้วย sub - ordinate  conjunction (คำเชื่อมแฝง) ได้แก่  if, before, because, as if, since, etc. และ relative  pronoun (สัมพันธ์สรรพนาม) ได้แก่  who, what, where, that, which, etc. เพื่อทำให้สองประโยคมีความหมายที่สมบูรณ์
4.  Compound – Complex  Sentence แปลว่า ประโยคความผสม หรือ อเนกัตถสังกรประโยค 
หมายถึง ประโยคที่มีเนื้อความหลายเนื้อความมาอยู่รวมกัน  โดยไม่จัดเข้าเกณฑ์ตามแบบประโยคที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น หรืออาจกล่าวง่ายๆ ว่า ไม่จัดเข้าพวก ทั้งสามประโยคที่กล่าวมาข้างต้น และมีกฎเกณฑ์สลับซับซ้อน  
ตัวอย่างเช่น
            - Venerable  Kitti  can  not  remember  whose  book  it  is, so  he  asks  his  friend.
            ท่านกิตติไม่สามารถจำว่าหนังสือนี้เป็นของใครได้ ดังนั้นเขาจึงถามเพื่อนของเขา
- Venerable  Manop  does  not  understand  what  teacher  explains, yet  he  writes  it  down  in  his  note  book.
ที่มา : http://blog.eduzones.com/yimyim/3354 




20 เคล็ดลับเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง


เคล็ดลับเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง  1.ความเกี่ยวเนื่อง ถ้าคุณจัดคำศัพท์ออกเป็นหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันระหว่างศัพท์แล้วเขียนออกมาเป็นแผนผังจะทำให้คุณจำคำศัพท์ได้ง่ายขึ้น
เคล็ดลับเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง  2.เขียน: การนำคำศัพท์นั้นมาใช้จะทำให้คุณจำได้ฝังใจยิ่งขึ้น ลองเขียนแต่งประโยคโดยนำศัพท์ใหม่ที่เรียนนั้นมาประกอบหรือแต่งเรื่องโดยใช้กลุ่มคำ
ศัพท์หรือสำนวนที่เรียนอยู่
เคล็ดลับเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง  3.วาดรูป: ดึงวิญญาณศิลปินในตัวคุณออกมาใช้ โดยการวาดรูปที่แสดงถึงศัพท์ที่คุณเรียนอยู่ ภาพที่คุณวาดจะช่วยกระตุ้นความ
ทรงจำถึงศัพท์นั้นในอนาคต
เคล็ดลับเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง  4.แสดง: แสดงท่าทางประกอบคำศัพท์หรือสำนวนที่คุณกำลังเรียนอยู่ หรือจินตนาการว่าคุณจะแสดงออกอย่างไรในสถานการณ์ที่คุณต้องใช้ศัพท์คำนั้น
เคล็ดลับเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง  5.สร้าง: ออกแบบ flashcards ศัพท์ภาษาอังกฤษพร้อมความหมายแล้วเปิดอ่านหรือท่องในยามว่าง ทำเล่มใหม่ขึ้นทุกอาทิตย์และอย่าลืมทบทวนอันเก่าไปพร้อมๆ กันด้วย
เคล็ดลับเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง  6.ความสัมพันธ์: กำหนดแต่ละสีให้แต่ละคำศัพท์ ความสัมพันธ์ของแต่ละคู่จะช่วยให้คุณจำศัพท์นั้นได้แม่นขึ้นเมื่อนึกถึงคำนั้นในคราวต่อไป
เคล็ดลับเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง  7.ฟัง: นึกถึงศัพท์คำอื่นที่ออกเสียงคล้ายๆ กับคำศัพท์ใหม่ที่พยายามเรียนอยู่ ใช้ความสัมพันธ์ตรงจุดนี้ในการช่วยให้คุณจำการออกเสียงของคำใหม่นั้น
เคล็ดลับเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง  8.เลือก: จำไว้ว่าการเรียนในหัวข้อที่คุณชอบหรือสนใจจะทำให้คุณรู้สึกว่ามันง่ายขึ้น ฉะนั้นคุณควรใส่ใจในการเลือกคำศัพท์ที่คุณคิดว่ามีประโยชน์หรือน่าสนใจ เพราะแม้แต่กระบวนการเลือกคำที่จะเรียนก็มีผลให้คุณจำได้แม่นและเร็วขึ้นด้วยเช่นกัน !
เคล็ดลับเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง  9.ข้อจำกัด: คุณก็รู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้หรอกที่คนเราจะจำศัพท์ที่มีอยู่ในดิกชันนารี่ทั้งหมดได้ในวันเดียว เพราะฉะนั้นจำกัดการเรียนศัพท์ใหม่แค่วันละ 15 คำก็พอแล้ว ซึ่งถ้าพยายามจำให้มากคำเกินไปกว่านี้แทนที่มันจะทำให้คุณรู้สึกมั่นใจกลับจะทำให้คุณสมองตื้อแทน
เคล็ดลับเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง  10.สังเกต: พยายามสังเกตหาคำศัพท์ที่คุณกำลังเรียนอยู่เมื่ออ่านหรือฟังภาษาอังกฤษ
เคล็ดลับเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง  11.ยอมรับความจริง ไม่มีใครพูดภาษาที่สองได้ตั้งแต่เกิด ทุกคนต้องใช้เวลาในการเรียนรู้กันทั้งนั้น ฉะนั้นอย่าคาดหวังว่าจะต้องเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่เริ่มต้น
เคล็ดลับเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง  12.เรียนรู้ทีละนิด จากการศึกษาพบว่า การทบทวนเป็นระยะเวลาสั้นๆ อย่างเช่น ในระหว่างทานอาหารเช้า ในขณะอาบน้ำ หรือในขณะเดินทาง จะส่งผลให้คุณจดจำได้ดีกว่า
เคล็ดลับเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง  13.ท่องศัพท์ ยิ่งคุณรู้ศัพท์มากเท่าไหร่ คุณก็สามารถพูดและเข้าใจได้มากขึ้นเท่านั้น เทคนิคในการจดจำคำศัพท์ คือ พกการ์ดใบเล็กๆที่เขียนคำศัพท์ (ที่มีคำแปลอยู่ด้านหลัง) ไปกับคุณทุกที่
เคล็ดลับเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง  14.ฝึกหัดอย่างจริงจัง อย่าแค่ทำปากขมุบขมิบหรือท่องเอาไว้ใสใจ พูดหรืออ่านออกมาดังๆ ในทุกครั้งที่มีโอกาส เพื่อจะได้ฝึกปากของคุณให้เคยชินกับการออกเสียง
เคล็ดลับเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง  15.ทำการบ้าน การทำการบ้านคือการฝึกฝนทักษะการใช้ภาษาให้เป็นไปอย่างแม่นยำ จนกลายเป็นความชำนาญ และสามารถทำออกมาได้อย่างอัตโนมัติในที่สุด
เคล็ดลับเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง  16. จับกลุ่มเรียน หาเวลาทบทวน ทำการบ้าน หรือแค่ฝึกพูดภาษานั้นๆ กับเพื่อนๆ เป็นประจำ ซึ่งจะช่วยแก้ไขข้อบกพร่องให้กันและกันได้ แถมยังทำคุณจดจำได้แม่นยำยิ่งขึ้นด้วย
เคล็ดลับเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง  17.หาจุดอ่อน คุณควรหาจุดอ่อนในการเรียนของตัวเองให้เจอ เพื่อที่จะได้เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ อย่างเช่น ถ้าคุณเป็นคนเงียบๆ และไม่ค่อยมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ก็บังคับตัวเองให้เลือกที่นั่งแถวหน้าในห้องเรียนซะ
เคล็ดลับเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง  18.หาโอกาสในการใช้ภาษา เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับภาษานั้นๆ ให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยกับเจ้าของภาษาเช่าหนังที่พูดภาษานั้นๆ มาดูหรือแม้กระทั่งหาแฟนที่เป็นเจ้าของภาษานั้นซะเลย
เคล็ดลับเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง  19. ทุ่มความสนใจ พูดง่ายๆ ก็คือ หายใจเข้าออกก็ให้เป็นภาษานั้น เรียนรู้ภาษานั้นๆ ทั้งในและนอกห้องเรียนอย่างจริงจังและเต็มที่ถึงขนาดถึงขนาดถ้าฝันได้ก็อาจฝันเป็นภาษานั้นๆ ด้วย
เคล็ดลับเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง  20. ปรึกษาผู้รู้ ถ้ามีปัญหาหรือติดขัดอะไร ก็ต้องสอบถามครูผู้สอนหรือเจ้าของภาษานั้นทันที เพื่อทำลายกำแพงที่เป็นอุปสรรคในการเรียนออกไปให้เร็วที่สุด คุณจะได้ไม่ต้องสะดุดอยู่นานเกินไปซึ่งนั้นอาจทำให้คุณเกิดความเบื่อหน่ายได้

ที่มา : exteen,vocabbook,grammarbook